วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เผยแพร่ผลงานครูที่นี่ค่ะ

ทางเว็บไซต์ยินดีแบ่งปันพื้นที่เป็นสื่อกลาง หากท่านประสงค์จะเผยแพร่ผลงานของท่านที่มีประโยชน์ต่อวงการศึกษา >>คลิกที่นี่เพื่อเผยแพร่ผลงานค่ะ<<

และขอเชิญคุณครูและผู้ที่สนใจในงานวิชาการด้านการศึกษาทุกท่าน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานครูชำนาญการพิเศษในหัวข้อ

การเขียนเรื่องโดยใช้แผนผังความคิด >>คลิกที่นี่เพื่อแสดงความคิดเห็น<<

พัฒนาการอ่านโดยใช้นิทานป็อปอัพ >>คลิกที่นี่เพื่อแสดงความคิดเห็น<<

การเขียนเรื่องโดยใช้แผนผังความคิด

ชื่อเรื่อง
การใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้ศึกษา
นางสาวระวีวรรณ เชิดเกียรติกุล

ปีที่วิจัย
2550


บทคัดย่อ
การใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์การศึกษาค้นคว้า คือ

1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรื่อง ด้วยกลุ่มร่วมมือโดยใช้แผนผังความคิด ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียน เรื่อง การเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้อง รวมนักเรียน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือโดยใช้แผนผังความคิดชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 แผนใช้เวลาสอน 16 ชั่วโมง
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดภาคปฏิบัติการเขียนเรื่อง
3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


สรุปผลการศึกษา
ผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.67 / 83.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6839 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 68.39
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.51 หมายความว่ามีความพอใจในระดับมากที่สุด


โดยสรุป การใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเขียนเรื่องด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ด้านการเขียนเรื่อง สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายของหลักสูตรได้และควรนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มสาระอื่น ๆ ต่อไป

พัฒนาการอ่านโดยใช้นิทานป็อปอัพ

ชื่อเรื่อง
การพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ( Pop-up )

ผู้วิจัย
นางสาวระวีวรรณ เชิดเกียรติกุล

ปีที่วิจัย
2550



บทคัดย่อ
การพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ ( Pop-up ) เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบแผนการวิจัย แบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน–หลัง (One Group Pretest - Posttest Design)

โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ

1)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะด้าน การอ่านจับใจความโดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test)

2) สร้างหนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ

3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 30 คน ทดลองสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย

1)แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความประกอบการสอน จำนวน 5 แผน

2)หนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up) จำนวน 5 เล่มคือเรื่อง ชาวนากับไก่ แมวจอมเกเร ราชสีห์สอนลูก ตาลขี้ขโมยและนกฮูกน้อยและ

3)แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up)ประกอบการสอน

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ(%)ค่าเฉลี่ย( X)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD)

สรุปผลการวิจัย

1.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ(Pop-up) ประกอบการสอน มีความสามารถด้านการอ่านจับใจความ
โดยคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนเรียน และหลังเรียนแตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ โดยผลการเรียนรู้

หลังการเรียนเรียน ( = 25.83, S.D. = 2.10, คิดเป็นร้อยละ 86.11) ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ(Pop-up) ประกอบการสอนสูงกว่าก่อนเรียน ( = 19.93, S.D.=3.29 คิดเป็นร้อยละ 66.44)

2.การประเมินประสิทธิภาพหนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up)มีผลการรับประเมิน ในด้านต่างๆจากผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 4.00

3.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up)ประกอบการสอนโดยภาพรวม นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุดนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up) ประกอบการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67 )
เมื่อพิจารณารายข้อพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อระดับมากที่สุดจำนวน 7 ข้อและนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก 3 ข้อ ได้แก่ ข้อ 3 นักเรียนพอใจกับคะแนนที่ตนเองทำได้ ( = 4.40 ) ข้อ 4 นิทานแต่ละเรื่องน่าอ่านเพราะเข้าใจง่าย ( = 4.47 ) และข้อ 8 นักเรียนสามารถอ่านจับใจความจากนิทานได้ ( = 4.33 )

โดยสรุป การพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือนิทานภาพยกระดับ ( Pop-up ) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายของหลักสูตรได้และควรนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มสาระอื่น ๆ ต่อไป